อัลไซเมอร์ น่ากลัวกว่าที่คิด โรคที่เกิดได้กับทุกคน
ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์
หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้
หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษาการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
สาเหตุอาการอัลไซเมอร์
อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากพันธุกรรม และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวผู้ป่วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังพบว่า ความเครียด และการดำรงชีวิตที่ไม่มีการพักผ่อนที่ดีพอ ก็เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ง่ายขึ้นกว่าคนทั่วไป
คนในครอบครัวของคุณกำลังเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์หรือไม่ ?
อัลไซเมอร์ ปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย คุณกำลังมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- มีอาการหลงลืมบ่อย ความจำถดถอย
- ทำของหาย หาของไม่เจอ
- ลืมของ วางของไม่เป็นที่เป็นทาง
- จำทางไม่ได้ หลงทิศ หลงทางในสถานที่คุ้นเคย
- ไม่สามารถทำกิจกรรมที่คุ้นเคยได้ เช่น การทำอาหาร
- ถามซ้ำๆ พูดซ้ำ
- เริ่มจำหน้าคนใกล้ชิดไม่ได้
- นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิดๆ แทน
- อาจเห็นภาพหลอน
- พฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน
- มีปัญหานอนไม่หลับ
- ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า
- ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น
- ระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้
วิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์
- บริหารสมองหรือทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมอง พบปะผู้คนและมีกิจกรรมทางสังคมที่มากกว่าการใช้สื่อออนไลน์ และคอยดูแลสุขภาพจิต ไม่เครียด ลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า
- ออกกำลังกายต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเฝ้าระวังโรคประจำตัวที่อาจเกิดขึ้นใหม่ รวมถึงควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันสูง
และไขมันในเลือดสูง - รับประทานอาหารสายสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน ให้มีดัชนีมวลกาย ไม่เกิน 30
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
- นอนหลับพักผ่อนให้มีคุณภาพการนอนที่ดี
- ฝึกสมาธิ ตามแนวพุทธศาสนา หรือตามแนวทางอื่น ๆ ที่ถนัด
- เลี่ยงมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้เครื่องกรองอากาศ
- ระวังอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ทั้งในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ ระวังเรื่องการหกล้มในผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน
- ดูแลหูและการได้ยิน หากมีอาการหูตึง ควรใส่เครื่องช่วยฟัง
- ทานอาหารเสริมบำรุงสมอง ที่ช่วยทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น รวมทั้งช่วยในเรื่องของอาการนอนไม่หลับหรือปัญหาอารมณ์ไม่คงที่ของผู้ป่วย